top of page
เพศชาย

Gonads

  อัณฑะ (testis) เป็นอวัยวะเพศของผู้ชาย อยู่ในถุงอัณฑะ (scrotum) มีอยู่ 2 ข้างซ้าย และขวา ระยะแรกอยู่ในช่องท้อง ก่อนคลอดเล็กน้อยจึงออกมาอยู่ในถุงอัณฑะ ทำให้ อุณหภูมิของอัณฑะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 2 องศาเซนเซียส ทำหน้าที่ใน การผลิตสร้างตัวอสุจิ และ ผลิตฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญได้แก่เทสโทสเทอโรน (testosterone)
     ส่วนของอัณฑะที่ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย คือ เซลล์ เลย์ดิก (Leydig cell) หรืออินเตอร์สติเชียลเซลล์ (interstitial cell) อยู่ในเนื้อเยื่อที่แทรก อยู่ระหว่าง ท่อเซมินิเฟอรัส (seminiferous tubule) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเทอโรน และ สร้างเอสโทรเจนในจำนวนน้อยด้วย FSHจะควบคุมการสร้างตัว อสุจิ ให้มีการสร้างอสุจิในท่ออสุจิ ฮอร์โมนแอล เอช (LH) จะกระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) สร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า แอนโดรเจน (androgen) ส่วนใหญ่เป็น เทสโทสเทอโรนโดย เอฟ เอส เอช (FSH) จะชักนำให้เกิดตัวรับของแอล เอช (LH) บนเซลล์เลย์ดิก

เพศหญิง

 รังไข่ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเป็นต่อม ไร้ท่อ โดยผลิตฮอร์โมนเพศหญิงคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen) และ โพรเจสเทอโรน (progesterone) ซึ่งเป็นสเตรอยด์ ระดับของฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ของรอบประจำเดือน
 

    หน้าที่ของฮอร์โมนต่างๆที่สร้างจากรังไข่
       1.เอสโตรเจน กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของเพศหญิง (female secondary sex characteristics) เมื่อฮอร์โมนเพศจับกับตัวรับสัญญาณของเซลล์ที่ อวัยวะ เป้าหมายของสตรี จะทำให้สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมใหญ่ขึ้น มดลูกมี ขนาดใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้ และ อวัยวะเพศ เสียงเล็ก ปลายกระดูกอิปิไพเซียล เพลท (epiphyseal plate) ในกระดูกยาว (long bone) ปิดเร็วขึ้น ทำให้ความสูงไม่ เพิ่มขึ้น และฮอร์โมนเอสโทรเจน จะเพิ่มระดับคอเลสเทอรอล ชนิดดี(high density lipoprotein)) ลดคอเลสเทอรอลชนิดเลว (low density lipoprotein) ทำให้เส้นเลือดหยืดหยุ่น และ เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน ทำให้ ไม่ค่อยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด แข็งตัว และ ปัญหา เส้นเลือดที่หัวใจ และลดการสลายของ กระดูก และคงสภาพของผิวหนัง และ หลอดเลือด
       2.โปรเจสเตอโรน ทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน ทำให้อุณหภูมิของ ร่างกายสูงขึ้น ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียว เข้มขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นสามารถว่าย มาผสมกับไข่ที่ผสมแล้วได้สะดวก ป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำงาน ร่วมกับเอสโทรเจน โดยเอสโทรเจนจะทำให้มีการเจริญของท่อน้ำนม(duct) หลังจากนั้น เอสโทรเจนจะให้โพรเจสเทอโรนร่วมทำงาน ทำให้ท่อน้ำนมและถุงน้ำนม (alveoli) เจริญอย่างสมบูรณ์ เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นตึงตัวขึ้น (glandular development) แต่ระดับ ของเอสโทรเจนที่สูงในระหว่างตั้งครรภ์จะยับยั้งการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า ไม่ให้หลั่งโพรแลกตินด้วย

2.รก(Placenta)

                             

     การตกไข่ การปฏิสนธิ การแบ่งเซลล์ และ การฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูกซึ่งใช้  เวลาประมาณ 7 วัน ภายหลังการฝังตัวของตัวอ่อน ส่วนเซลล์โทรโฟบลาสทจะเจริญไป เป็นรก รกจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนมาควบคุมการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไป
     รกเป็นโครงสร้างที่เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก รกจะติดอยู่กับผนังด้าน ในของมดลูก เสมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของตัวมารดา โดยจะมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อม ต่อระหว่าง รกกับทารก การจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ต้องอาศัยฮอร์โมนหลายชนิด
     รกเป็นบริเวณที่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกมาพบกัน โดยเชื่อมต่อสาย สะดือของทารกกับมดลูก ของมารดา รกทำหน้าที่ 2 ประการคือ
- ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์ของทารกในครรภ์
- ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ ์และ เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกลการเจ็บครรภ์รวมทั้งฮอร์โมน เอสโทรเจน และ ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน

     รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่
       1.ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน ในช่วงแรกประมาณ 6-8 สัปดาห์จะได้รับฮอร์โมน โพรเจสเทอโรนจากคอร์ปัส ลูเทียมที่รังไข่หลังจากนั้นรกจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมน โพรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก ที่จะทำให้การตั้ง ครรภ์สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยการยับยั้งการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้ร่าง กายไม่กำจัด ทารกซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายออกมาโดยไปกดภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ฮอร์โมนที่ สร้างส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาส่วนน้อยที่ ผ่านไปยังทารก เมื่อรกทำหน้าที่ ผลิตฮอร์โมนอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น คอร์ปัส ลูเทียมจะทำหน้าที่ ผลิตฮอร์โมนน้อยลงและหมดหน้าที่ไป และระดับของ HCG จะลดลง เมื่อระยะเวลาการตั้ง ครรภ์มากขึ้น รกจะผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจน และ โพรเจสเทอโรนได้มากขึ้น
       2.ฮอร์โมนเอสโทรเจน การสร้างฮอร์โมนนี้จะไม่เหมือนกับที่รังไข่ เพราะรกไม่มี เอนไซม์ 17 - β ไฮดรอกซิเลส ที่จะเปลี่ยนโพรเจสเตอโรน หรือ เพรกนีโนโลน (pregnenolone) เป็นเอสโทรเจน จึงต้องอาศัยสเตอรอยด์ที่สร้างมาจากต่อมหมวกไต ของแม่ และของทารกแทน โดยเซลล์โทรโฟบลาสท์จะใช้ดีไฮโดรอิพิแอลโดรสเตอโรน ซัลเฟต(DHEA-S) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของแม่ และของทารกมาเป็นสารตั้งต้นที่จะ ผลิตเอสตราไดออล 17 เบต้า เอสโตรนจะถูกหลั่งมาที่เลือดแม่ แต่เอสตราไดออลจะถูก ต่อมหมวกไต ของทารกเปลี่ยนไปเป็น เอสไทรออล กลับมาที่รกเพื่อเข้ากระแสเลือดแม่ หน้าที่ของเอสโทรเจนในการตั้งครรภ์ยังไม่ ทราบแน่ชัด แต่พบว่าในขณะใกล้คลอดจะมี ปริมาณของเอสโทรเจนสูง และเอสโทรเจนทำให้มี เลือดมาเลี้ยงที่มดลูกมาก
       3.ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (human chorionic gonadotropin: HCG) ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟินเป็นไกลโคโปรตีน มี 2 หน่วยคือ สายแอลฟา และสายเบต้า สายแอลฟาประกอบด้วยกรดอะมิโน 92 ตัว สายเบตามีกรดอะมิโน 145 ตัว เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่ติดกับมดลูก (chorian) สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ วันที่ 8 ของการปฏิสนธิ ในช่วงแรกของการตั้ง ครรภ์ ปริมาณ HCG จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดย จะมีประมาณ 100 IU/L ในวันที่ที่ขาด ประจำเดือน และ100,000 IU/L ขณะอายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะลดลงเหลือ ประมาณ 10,000 – 20,000 IU/L และคงที่ตลอดการตั้ง ครรภ์

  • Facebook App Icon
  • Twitter App Icon
  • Google+ App Icon
bottom of page